THAILAND
ลงทะเบียน สมุดเยี่ยม
a r a n _ p h a t h e t @ h o t m a i l . c o m
Read Guestbook

Sign Guestbook

banner.jpg




        โปรแกรมดนตรี Sibelius เป็นโปรแกรมาดนตรีที่มีความสามารถในการจัดพิมพ์เอกสารทางด้านดนตรีสากล ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน Sibelius เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถมากอีกโปรแกรมหนึ่งและมีอุปกรณ์ต่าง ๆ อีกทั้ง Plug-ins อีกมากมาย ที่คอยสนับสนุนการทำงานให้สะดวกสมบูรณ์มากที่สุด และง่าย ต่อการใช้สอยในการจัดพิมพ์โน้ต และเอกสารทางดนตรีสากล คู่มือการใช้โปรแกรม Sibelius (ขั้นเบื้องต้น) ผู้จัดทำได้รวบรวมความรู้และประสบการณ์ที่ได้ทดลองใช้โปรแกรม เพียงเพื่อเป็นประโยชน์กับนักดนตรีที่เริ่มที่จะทดลองใช้โปรแกรมดนตรี โดยผู้จัดทำคาดหวังในขั้นเริ่มต้น เท่านั้น หากผู้ศึกษามีความต้องการที่จะศึกษาโปรแกรมในขึ้นที่สูงมากขึ้น ผู้จัดทำเอกสารใคร่ขอแนะนำให้ศึกษาจากคู่มือเล่มอื่น ๆ ต่อไป

        โปรแกรม นี้ชื่อ Sibelius อ่านออกเสียงเองนะครับ เพราะผมก็ไม่เก่ง อังกฤษซะด้วย รู้แต่ว่าเขาเขียนกับแบบนี้ครับ " Sibelius" การทำงาน ก็เป็นการพิมพ์ โน้ต Score เพลงทั่วไป ความสามารถ ในการพิมพ์โน้ต ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่า โปรแกรม ใดเลย เพียงแต่ ว่า เรายังไม่ทราบ ถึงการใช้ เท่านั้นเอง จากประสบการณ์ ในการใช้โปรแกรมมา มีโปรแกรมดนตรี หลาย โปรแกรม ที่ชื่นชอบ แต่ละโปรแกรมก็มีข้อเด่นข้อด้อยแตกต่างกัน โปรแกรม Sibelius เป็นอีกโปรแกรมหนึ่ง ที่ผมได้ คลุกคลี และได้ทดลองใช้ จึงทำให้เกิดความพึ่งพอใจ และได้ตัดสินใจ ที่จะทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็น วิทยาทาน สืบต่อ ๆ ไปกับ ผู้ที่สนใจ

มารู้จักหน้าตาของโปรแกรม Sibelius กันก่อนครับ Version 1.22



เมื่อเราต้องการเริ่มการทำงาน โปรแกรม

  • คลิก โปรแกรม แล้วรอสักครู่ เครื่องจะโหลดโปรแกรม อยู่สักพัก หนึ่ง รอจนกว่าจะโหลดเสร็จ
  • พอโหลดโปรแกรม เสร็จ ระบบ โปรแกรมก็จะเริ่มค้นหา สิ่งต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ระหว่างที่โหลดโปรแกรม ก็จะมีข้อความให้ตอบ เราก็ตอบ OK ตลอดนะครับ จะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดต่าง ต่าง ๆ
  • พอเปิดโปรแกรม เสร็จ ก็จะได้หน้าตา ของโปรแกรม และการเตรียมความพร้อม การทำงานดังนี้


  • ต่อจากนั้นเราเริ่ม สร้าง ชิ้นงาน โดย เลือกที่ Menu > File > New หรือเลือกที่ Toolbar แล้ว ใช้ เมาท์ คลิกที่ New ก็ได้
  • เมื่อเลือก New แล้ว จะปรากฎ New Score ขึ้น ดังรูป
  • จะมีตัวเลือกให้เลือกเพื่อเลือกขนาดของกระดาษแต่ละขนาด หรือ เลือกเป็นรูปแบบของ Band ที่เราจะพิมพ์โน้ตเลยก็ได้ (ในที่นี้ เราเลือกกระดาษ A4 ครับ) ตอบ OK.




  • หลังจากนั้น ก็จะเกิด หน้าต่างขึ้น อีก เป็นตัวเลือกให้เราเลือกอีกแล้วครับท่าน ไม่ต้องแปลกใจนะครับ





  • Section ประเภทของเครื่องดนตรี
  • Available ชนิดของเครื่องดนตรี
  • Instruments to Create เครื่องดนตรีที่เราเลือก แล้ว Add >> เข้าไปจะ ปรากฏในช่อง
  • Play using this equipment กลุ่ม เสียงที่สามารถเล่นได้จะโชว์อยู่ที่ตำแหน่งนี้



  • พอเริ่มเข้าใจใน Instruments และเลือกค่าต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ เลือก Create เพื่อสร้างชิ้นงานครับ
  • หลังจากนั้นจะปรากฏ ชิ้นงาน ให้เราได้ พิมพ์ โน้ต กันเสียทีครับ พอได้ชิ้น งานแล้ว จะมีหน้าต่าง เพิ่มเข้ามา อีก 2 หน้าต่าง ครับ


  • Navigator ใช้ดูภาพรวม และเช็คจำนวนหน้าที่มี





    1 2 3 4 5
    1.Common notes (F8)    2.More notes (F9)     3.Beams/tremolos (F10)  4.Articulation (F11)  5.Accidentals (F12)  

  • Keypad รูปแบบ ของ ค่า โน้ต ตัวเลือกใช้ในการพิมพ์โน้ต Articulations ,ties และคำสั่งอื่น ๆ





  • เมื่อเราสร้าง ชิ้นงานเสร็จแล้วจะได้ รูปแบบ ออกมา ดังรูป





    Time Signature

  • เมื่อต้องการ ปรับ เปลี่ยน เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time Signature) ให้เราเลือก คำสั่งที่ Menu Create > Time Signature หรือจะใช้ คำสั่ง Shot key ก็ได้ โดย กด T เมื่อกดแล้วก็จะขึ้น หน้าต่าง คำสั่งเพิ่มมากอีก ดังรูป



  • Time Signature ที่เป็นมาตรฐานให้ เราคลิก Box ได้เลย
  • Other คือ Time Signature ที่มีความซับซ้อน เราสามารถเลือกใช้ได้ ตามความต้องการของเรา
  • Pickup , Upbeat ตรงนี้ ต้องการให้มีจังหวะ Pickup มาก่อน เลือก Box เพื่อต้องการ ให้มีการปฏิบัติ กี่จังหวะ โดยจะกำหนด เป็น ค่าโน้ต ตั้งแต่ dot . ตัวกลม ,ขาว ,ดำ, เขบ็ต 1ชั้น , 2 ชั้น, 3 ชั้น ลองเลือกดูเองครับ
  • Beat groups คือ การจัดกลุ่มของโน้ต เป็นการรวบหาง โน้ตให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ในตัวอย่าง เป็น 22 คือ มีโน้ต 2 กลุ่ม ๆ ละ 2 ตัว ในเครื่องหมายกำหนด จังหวะ 4 / 4





    Key Signature

  • เมื่อต้องการ ปรับ เปลี่ยน เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Key Signature) ให้เราเลือก คำสั่งที่ Menu Create > Key Signature หรือจะใช้ คำสั่ง Shot key ก็ได้ โดย กด K เมื่อกดแล้วก็จะมีหน้าต่างคำสั่งเพิ่มขึ้น




  • เลือกแบบ Major Key
  • เลือกแบบ Minor Key
  • เมื่อเลือก Key Signature แล้วก็ตอบ OK
  • Show cautionary คือ คำสั่ง ใช้แสดง Key signature ใน Staff


    การใส่ ชื่อเพลง

  • ก่อนที่จะใช้คำสั่งนี้ เรา ต้องสร้าง ชิ้นงานก่อนนะครับ
  • เมื่อสร้างชิ้นงานแล้ว จะได้ ชิ้นงาน พร้อม Staff ในการบันทึกตัวโน้ต
  • หลังจากนั้น ไปที่ Menu Create > Text > Title เลือก แล้วใช้ Mouse คลิกยัง หัวกระดาษ เพื่อใส่ชื่อเพลง แล้วจะเกิด หน้าต่างคำสั่ง ในการพิมพ์ เพื่อให้ สะดวกในการจัดหา Font และขนาด ตัว อักษร เราสามารเลือกได้ ตามรูป




    ตรงนี้คงไม่ต้อง อธิบายนะครับ เพราะว่าไม่มีความซับซ้อนอะไรเลย

  • เมื่อเราเลือก Font เสร็จแล้ว ก็จัดการพิมพ์ เลยนะครับ ก็จะได้ ชื่อเพลงที่เรา พิมพ์ เข้าไปตามนั้นเลยครับ



    ใส่ชื่อผู้แต่ง (Composer)


  • และต่อจากนี้ไป ก็ เป็นการใส่ ชื่อผู้แต่งครับ ลืมไม่ได้นะครับ เพราะต้อง แสดงความเป็นเจ้า ของ ที่เราอุตสาห์ทำมาตั้งนาน อย่าลืมครับ
  • ขั้นตอน Menu Create > Text > Composer เลือก แล้วใช้ Mouse คลิกยัง หัวกระดาษ ด้านซ้ายมือ เพื่อใส่ชื่อ ผู้แต่ง (Composer) แล้ว จะมี ช่อง เปิดขึ้นให้เราพิมพ์ ชื่อเข้าไป
  • ลองทำดูครับไม่ยากเลย






    เพื่อสะดวกในการดูโน้ต และฟังเสียงจาก ตัวอย่างกรุณา Setup Programs Scorch2 ในระบบปฏิบัติการ Windows ก่อนนะครับ

    line1

    Top | หน้า 2 | หน้า 3 | หน้า 4 | หน้า 5| ตัวอย่าง
    Menu-File| Edit| View| Create| Notes| Play Flexi-time| Layout| Plug-ins| Window| Help